วันพุธที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2554

ประกาศรับสมัครงาน

ประกาศรับสมัครงาน

              อยากได้เงินแบบสบายทำงานแบบง่ายๆ เงินเดือนเดือนล่ะ           12000- 20000บาท


ตำแหน่ง


               1. พนักงานขาย หรือตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์
               2. พนักงานแปรรูปผลิตภัณฑ์
               3. พนักงานทำความสะอาด
               4. พนักงานรักษาความปลอดภัย
               5. พนักงานขับรถส่งผลิตภัณฑ์ออกท้องตลาด


คุณสมบัติ


               1. เพศหญิง 10 ตำแหน่ง
                   - พนักงานทำความสะอาด 2 คน
                   - พนักงานแปรรูปผลิตภัณฑ์ 5 คน
                   - พนักงานขายหรือตัวแทนจำหน่าย 3 คน
               2. เพศชาย 5 ตำแหน่ง
                   - พนักงานขับรถ 3 คน
                   - พนักงานรักษาความปลอดภัย 2 คน


การศึกษา


               1. ตำแหน่งพนักงานขายหรือตัวแทนจำหน่าย
                   - วุฒิการศึกษาต้องไม่ต่ำกว่าอนุปริญญาตรี
               2. ตำแหน่งพนักงานขับรถ และรักษาความปลอดภัย 
                   - วุฒิการศึกษา ไม่ต่ำกว่า ป.6
               3. ตำแหน่งแปรรูปผลิตภัณและแม่บ้าน ไม่กำหนดการศึกษา


สนใจติดต่อได้ที่ :


E-mail  nana@hotmail.com  น.ส นานา ใจดี หรือ โทร...
02-5611699,084-1666178

วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา

        ผักตบชวาจัดเป็นพืชน้ำประเภทใบเลี้ยงเดี่ยวลอยน้ำ เจริญงอกงามโดยไม่ต้อง
อาศัยรากยึดแกะมีชื่อเรียกในแต่ละท้องถิ่นไม่เหมือนกัน เช่น ผักปอด,สวะ,ผักโรค,ผักตบชวา,ผักยะวา,ผักอีโยก เป็นต้น ซึ่งประเทศไทยมีผักตบชวามาตั้งแต่สมัยโบราณโดยเจ้านายในสมัยนั้นได้ตามเสด็จไปประเทศอินโดนีเชีย ได้เห็นผักชนิดนี้ออกดอกสีม่วงสวยงามอยู่ทั่วไปจึงได้นำเอาพันธุ์ผักตบชวามายังประเทศไทยเพียงเล็กน้อยใส่อ่างดินเลี้ยงไว้หน้าวังสระประทุมจนกระทั่งออกดอกสวยงามและเพิ่มจำนวนมากขึ้นจนล้นกระถาง ประกอบด้วยในช่วงนั้นเกิดน้ำท่วมวังสระประทุมทำให้ผักตบชวาล่องลอยกระจัดกระจายออกไปตามที่ต่างๆ การนำผักตบชวามาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ ก็สมารถนำมาใช้ได้หลายลักษณะ เช่น เป็น อาหารสัตว์ ใช้เป็นวัสดุในการเพาะเห็ดฟางเพาะชำต้นไม้
ใช้ผลิตก๊าชชีวภาพ ใช้ผลิตปุ๋ยจำหน่ายได้ทั้งตลาดท้องถิ่น ตลาดกลางหรือแม้แต่ตลาดต่างประเทศ ทำให้สามารถเปลี่ยนวัชพืชที่ไม่มีคุณค่าให้เป็นพืชเศรษฐกิจ สร้างการกระจายรายได้สู่ประชาชนในชนบทเป็นอย่างดีและเป็นการช่วยลดมลภาวะทางน้ำอีกทางหนึ่งด้วยผลิตภัณฑ์จากผักตบชวานับว่าเป็นการสร้างรายได้แก่ผู้ประกอบการเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เพราะต้นทุนการผลิตค่อนข้างต่ำเนื่องจากใช้วัสดุส่วนใหญ่จากธรรมชาติ ประกอบด้วยงานหัตถกรรมจักสานดูเหมือนจะเป็นส่วนหนึ่งของคนไทย
มานับตั้งแต่โบราณกาล คนไทยรู้จักการประดิษฐ์เครื่องจักสานนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำหลาย ๆ ชนิด
เช่น กระจาด กระบุง ตะกร้า เป็นต้น และได้สืบทอดงานฝีมือสู่ลูกหลานเรื่อยมา ดังนั้น การประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์จากผักตบชวาจึงเป็นที่ไม่ใช่เรื่องยากเย็นสำหรับคนไทย ผักตบชวาจึงถือว่าเป็นอีกผลิตภัณฑ์หนึ่งทางธรมชาติ ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับคนได้เป็นอย่างดี



การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว

          ในอดีตกะลามะพร้าวถูกนำมาทำเครื่องใช้หลายชนิดที่ยังพอมีให้เห็นเป็นของเก่าอยู่บ้างคือ จอกตักน้ำ หรือกะโหลกตักน้ำ หรือ ทะนาน ที่ใช้สำหรับตักข้าวสาร และยังมีอีกหลายชนิดที่แล้วแต่จะเรียกชื่อกัน นับเป็นภูมิปัญญาของคนสมัยก่อนที่มีวิถีชีวิตแบบ ไทย ๆ ใช้ของไทยที่ผลิตขึ้นเองจากวัสดุในท้องถิ่นสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เริ่มเลือนหายเมื่อความเจริญทางด้านเทค โนโลยีต่าง ๆ เข้ามาแทนที่จึงหันไปใช้พวกโลหะหรือพลาสติกแทน แต่ปัจจุบันยังมีคนบางกลุ่มที่เห็นประโยชน์ของกะลามะพร้าว และพยายามฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่นในการสร้างคุณค่าให้เกิดกับกะลามะพร้าว ซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่น และเชิญชวนให้คนทั่วไปหันกลับมาเห็นคุณค่าของภูมิ ปัญญาเหล่านี้เพื่อตระหนักให้คนไทยเห็นคุณค่าของภูมิปัญญาของคนไทยและเห็นคุณค่าของกะลามะพร้าวมากขึ้น
          กะลามะพร้าวเป็นวัสดุเหลือใช้ ซึ่งมนุษเอาเนื้อออกไปรับประทานหมดแล้วก็เป็นเศษวัสดุที่ไม่ค่อยมีราคาค่างวดสักเท่าไหร่คนสมัยก่อนมัก นำไปใช้ทำเชื้อเพลิง หรืออย่างดีก็คิดเอาไปทำเครื่องใช้  ในครัวเรือน เช่นกระบวยตักน้ำ ทัพพี ถ้วย ชาม  ความสำคัญของกะลามะพร้าวในสมัยก่อนมีความสำคัญไม่มากนัก จึงมีการเปรียบเปรยคนที่ใช้ชีวิตอย่างไร้คุนค่าเหมือนกะโหลกกะลา ทางภาคใต้ผู้ที่ชอบเถลไถล ไม่ทำอะไรเลยจะถูกเรียกขานว่า  ไอ้พลก ไอ้ต้อ เป็นการบ่งบอกถึงความไร้ค่าเสมอด้วยกะลา
          ต่อมาภูมิปัญญาไทย หลายคน หลายแหล่ง ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ได้คิดประดิษฐ์เพิ่มคุณค่า จากกะลามะพร้าวที่ไร้ค่ามาเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ที่นอกจากจะทำเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือนแล้วยังประดิษฐ์เป็นเครื่องตกแต่งบ้าน เช่น โคมไฟ ตะเกียงเจ้าพายุ เครื่องประดับ เครื่องแต่งกายสุภาพสตรี  เช่น กระเป๋าถือ เข็มขัด เข็มกลัด ปิ่นปักผม สร้อย  ฯลฯ ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้เป็นที่นิยมของชาวไทย และชาวต่างชาติ สามารถสร้างรายได้เพิ่มพูนให้แก่คนไทยที่ยากไร้ในชนบท


วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2554

ประวัติส่วนตัว(Port Folio)

ประวัติส่วนตัวค่ะ

ชื่อ-นามสกุล นางสาว นุชนาท กุลีช่วย

อายุ 21 ปี เกิดวันเสาร์ ที่ 5 สิงหาคม 2532
ที่อยู่ บ้านเลขที่ 1/2 หมู่ 2 ตำบล วิสัยเหนือ อำเถอเมือง จังหวัดชุมพร 86100

ประวัติการศึกษา


-จบชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนบ้านเชิงกระ
-จบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายจากโรงเรียนศรียาภัย
-ปัจุบัน กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี หมหาลัยราชภัฎจันทรเกษม

เอกการพัฒนาชุมชน รหัสนักศึกษา 5111305073


-เล่นอินเตอร์เนต

-วาดภาพ
-ปักผ้าให้เกิดลวดลาย

ความคาดหวังและเป้าหมายในอนาคต

-อยากเป็น อบต
-เป็นคนดีของชาติ
-มีความมั่นคงทางหน้าที่และครอบครัว

 
งานอดิเรก


-อ่านหนังสือการ์ตูน

ความสามารถพิเศษ
คติประจำใจ

-ฝันให้ไกล ไปให้ถึง แค่เกินครึ่งก็ยังดี

วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554

การแปรรูปไม้ไผ่


       ธุรกิจไม้ไผ่สมัยใหม่ ของตกแต่งบ้านเป็นวัสดุก่อสร้างในการตกแต่งที่มีความคลาสสิค และมีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ที่มีดีไซน์เฉพาะซึ่งจะนำมาตกแต่งบ้าน หรือเป็นวัสดุในการก่อสร้างบ้านก็ได้ ซึ่งในขณะนี้กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในธุรกิจโรงแรม และรีสอร์ท
ผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่เพื่อการตกแต่งเป็นเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่ โดยเฉพาะพื้นผนังปาร์เก้ไม้ไผ่ และพื้นผนังไม้ไผ่ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในขณะนี้ รวมไปถึงของตกแต่งบ้านเล็กๆ น้อยที่ทำจากไม้ไผ่ซึ่งมีจุดขายคือความสวยงามซึ่งเน้นเรื่องการออกแบบดีไซน์สูงจากนั้นใส่ใจเรื่องการออกแบบ คงทนแข็งแรง
     คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอ และออกแบบแฟชั่น ไปอบรมถ่ายทอดความรู้ให้กับชุมชนฯ โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่เชิงพาณิชย์ เป็นหนึ่งในโครงการ พระราชดำริฯ ที่สถาบันวิจัยและพัฒนา มทร.พระนคร มอบหมายให้คณะฯ ดำนินการ ณ ชุมชนบ้าน วังเขมร อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี โครงการนี้ได้มีคณาจารย์ที่มากด้วยความสามารถไปเป็นวิทยากร 3 ท่าน คือ อาจารย์ก้องเกียรติ มหาอินทร์ อาจารย์ทวีศักดิ์ สาสงเคราะห์ และอาจารย์วิโรจน์ ผดุงทศ ซึ่งไม่ไผ่นี้หาได้ง่ายและมีอยู่มากในชุมชนเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนนำไม้ไผ่มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทต่างๆ สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนอีกทั้ง เป็นการแปรรูปผลิตภัณฑ์ใหม่ๆออกสู่ตลาดต่อไป