วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2554

ไปดูงานที่สุรินทร์

>>เมืองสุรินทร์ถิ่นมีช้าง<<


สุรินทร์ถิ่นช้างใหญ่ ผ้าไหมงาม

ประคำสวย ร่ำรวยปราสาท ผักกาดหวาน


ข้าวสารหอม งามพร้อมวัฒนธรรม  


วันที่ 1 กับการนั่งรถที่ง่วงนอนค่ะ วันนี้เพื่อนๆทุกคนตื่นเต้นกับการเดินทาง และกับสิ่งที่จะได้เจอ สำหรับตัวข้าพเจ้าเอง ก็ตื่นเต้นไม่แพ้เพื่อนๆค่ะ  เพราะยังไม่เคยไปภาคอิสานเลยสักครั้ง แต่ตอนนี้มีโอกาศได้ไป และได้ไปกับเพื่อนๆซึ่งข้าพเจ้าคิดว่าคงเป็นความประทับใจที่ควรจดจำค่ะ



บรรยาการ 2 ข้างทาง กับความแห้งแล้งภาคอิสานมีความแห้งแล้งกว่าภาคอื่นๆค่ะ แต่ภาคอิสานเป็นจุดขายของประเทศไทยในเรื่องการทำนาข้าวน่ะค่ะ ถึงจะมีความแห้งแล้งแต่ คนอิสานก็ยังอดทนและต่อสู้ต่อธรรมชาติค่ะ คิดพัฒนาการทำนาข้าวอยู่ตลอดเวลา เห็นไหมค่ะ ถ้ามีความอดทนและมีความขยัน ก็สามารถดำรงชีวิตอย่างมี
ความสุขได้ค่ะ


ถึงจังหวัดสุรินทร์ประมาณ 13.30 น. ทุกคนได้ฟังวิธีการเลี้ยงหมูหลุมและการทำนาข้าวอินทรีย์จาก คุณกัญญา อ่อนสี และคุณ วรพล หมูหลุมตัวเล็กๆน่ารักมากค่ะ หมูหลุมมีประโยชน์มากมายน่ะค่ะ มูลของหมูสามารถนำไปทำปุ๋ยคอก และยาฆ่าแมลงได้ด้วยค่ะ เห็นไหมค่ะว่าความคิดของปราชญ์ชาวบ้านแต่ล่ะคนเก่งมาก

เช้าวันใหม่ของวันที่ 2 ก่อนออกไปดูงาน ทุกคนดูสดชื่น



เดินชมตลาดเขียว ก่อตั้งโดยคุณ กัญญา อ่อนศรี ตลาดเขียวเป็นศูนย์รวมของชาวบ้าน ที่เข้าร่วมโครงการตลาดเขียวกับ คุณกัญญา อ่อนสี โครงการนี้ทำให้ชาวบ้านที่ยากจนได้มีแหล่งอาชีพ ได้นำพืชผักของตนเองออกมาขาย ทำให้ชาวบ้านที่ ยากจน และเป็นหนี้ สามารถปลดหนี้ และดำรงชีวิตโดยการพึ่งพาตนเองได้





การทำเกษตรแบบผสมผสานบ้านพ่อสุวรรณ  กันภัย บ้านพ่อสุวรรณ มีผัก และผลไม้มากมาย ซึ่งพ่อได้ทำการเกษตรแบบผสมผสาน มีการปลูกผัก ไว้กินเองในครัวเรือน ทำให้บ้านพ่อสุวรรณ ไม่ต้องซื้อกับข้าว ทำให้เกิดการประหยัดเงิน ส่วนบ่อน้ำเลี้ยงปลาในสวน
พ่อสุวรรณได้ขุดเองกับมือทุกบ่อ เพื่อเลี้ยงปลา และเก็บน้ำจากหน้าฝนไว้ใช้ในหน้าแล้ง จึงทำให้บ้าน พ่อสุวรรณ กันภัย มีน้ำใช้ตลอดทั้งปี แต่ที่ภูมิใจกว่านั้นคือ บ้านพ่อสุวรรณ ไม่มีไฟฟ้าใช้ค่ะ เพราะพ่อสุวรรณ อยู่แบบเศรษฐกิจพอเพียง อยู่แบบวิถีชีวิตของคนไทยสมัยโบราณ พ่อสุวรรณ เป็นปราชญ์ชาวบ้านที่ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดีค่ะ


วันที่ 3 กับการดูงาน บ้านพ่อคำเดื่อง ภาษี  วันนี้ทุกคนจะต้องเดินเพื่อเข้าไปบ้านพ่อคำเดื่องเป็นระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร ระหว่างทางร่มรื่นเพราะพ่อคำเดื่องได้ปลูกต้นไม้ไว้ตลอดเส้นทาง วันนี้เพื่อนๆทุกคนต้องเดินข้ามสะพานไม้ไผ่ ซึ่งมองดูแล้วก็ไม่ค่อยจะแข็งแรงน่ะค่ะ แต่รับน้ำหนักเพื่อนๆได้หลายคนค่ะ ทุกคนคงตื่นเต้นกับการข้ามสะพานไม้ไผ่ เพราะข้างล่างเป็นน้ำทุกคนก็คงกลัวสะพานจะหัก และตกลงไปในน้ำ แต่สุดท้ายทุกคนก็เดินข้ามไปอย่างปลอดภัยค่ะ





จังหวัดสุรินทร์เป็นถิ่นช้างใหญ่ค่ะ และช้างก็มีความสามารถมากๆ ทั้งการแสดง และการละเล่น ช้างสามารถทำได้ไม่แพ้มนุษย์เลย ทุกคนได้ไปดูช้างแฝดคู่แรกของโลก น่ารักมาก ช้างไทยมีความฉลาด ทำให้ทุกคนที่ไป
ดูงานในวันนี้สนุกและมีความสุขมาก


การทอผ้าไหมของหมู่บ้านทัพไทย ผ้าไหมที่จังหวัดสุรินทร์ มีชื่อเสียงและเป็นแหล่งส่งออกผ้าไหมที่โด่งดังมาก กว่าจะได้ผ้าไหมแต่ละผืนต้องใช้เวลานานพอสมควร บางลายถึงกับเป็นปี แต่คุณค่าและราคาก็เหมาะสมและคุ้มค่ากับระยะเวลาที่เหนื่อยกับการทอผ้าค่ะ



วันนี้เป็นวันที่ 4ของการไปศึกษาดูงานทุกคนดีใจมากที่จะได้กลับบ้านแต่ก่อนกลับได้แวะดูโบราณสถาน ประสาทเขาพนมรุ้ง สวยงามมาก แต่น่าเสียดายที่ลายแกะบางชิ้นได้หายไป โดยขโมย บรรยากาศวันนั้นร้อนมากแต่ทุกคนก็พยายามเก็บภาพเพื่อเป็นที่ระลึก
จากการไปดูงานที่จังหวัดสุรินทร์ เป็นเวลา 4วัน 3คืน ได้ประสบการณ์และความรู้ใหม่ๆมากมาย ที่สามารถนำมาปรับใช้กับการดำรงชีวิตประจำวันในปัจจุบันได้ และได้เรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชน และได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆที่นอกเหนือจากในหนังสือ ได้สัมผัสกับบรรยากาศที่แท้จริง ซึ้งการดูงานครั้งนี้ถือเป็นความประทับใจที่น่าจดจำมากค่ะ


งานสัมมนาผู้สูงอายุ

**งาน **
สัมมนา

ผู้สูงอายุ


"กองทุนส่งเสริมสวัสดิการผู้สูงอายุ"



โครงการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

       โครงการนี้สำหรับผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จะได้รับเบี้ยยังชีพ เดือนล่ะ 500 บาท ในการใช้จ่าย หลักฐานที่ใช้ประกอบในการรับเงิน
               - สำเนาบัตรประชาชน
               - สำเนาทะเบียนบ้าน

ผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพในแต่ละหมู่บ้าน  สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม  

   1. ผู้สูงอายุที่ยากจน อายุมาก แต่ยังคงมีบุตรหลาน ดูแล และไม่ได้ถูกทอดทิ้งให้อยู่ลำพัง ครอบครัวเกื้อกูลดี อยู่ในพื้นที่ใจกลางของหมู่บ้าน ความสัมพันธ์กับกรรมการหมู่บ้าน มีความสนิทสนมกันเป็นอย่างดี เป็นกลุ่มที่ได้รับเบี้ยยังชีพมากที่สุด

2 . ผู้สูงอายุที่ยังคงอยู่กับบุตรหลาน ไม่ยากลำบาก ฐานะปานกลาง ส่วนมากจะเป็นกลุ่มญาติสนิท บิดามารดาของกรรมการหมู่บ้าน หรือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กลุ่มนี้จะได้รับเบี้ยยังชีพเป็นลำดับที่ 2

     3. ผู้สูงอายุที่ยากจน ทุกข์ยาก ไร้ญาติขาดมิตร จำนวนมากอยู่ลำพังคนเดียว หาเลี้ยงตนเอง ลูกหลานไปทำงานที่อื่น มักจะเข้าไม่ถึงบริการของรัฐ ไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชนมากนัก บ้านที่อยู่ห่างไกลศูนย์กลาง มีชาวบ้านที่สงสารคอยดูแลบ้าง




"การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไม้หวาย"

      ไม้หวาย เป็นพืชตระกูลปาล์ม มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Calamus sp ชื่อสามัญว่า Rattan palm เป็นพันธุ์ไม้เลื้อย ลำเถาชอบพันเกาะต้นไม้ใหญ่มีความเหนียว ใบเป็นรูปขนนกเล็ก ๆ ใบย่อยนั้นเรียวยาว มีสีเขียวสด ก้านใบหนึ่ง ๆ มีใบย่อยราว 60 - 80 คู่ เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งของประเทศในเขตร้อน โดยเฉพาะประเทศไทย นิยมใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น เฟอร์นิเจอร์ วัสดุก่อสร้าง และเครื่องจักสาน ไม้หวายที่นิยมนำมาใช้ทำโครงผลิตภัณฑ์ ลิเภาคือหวายหอม





เครื่องมือสำหรับใช้ในการจักสาน

        มีด ที่ใช้ในการจักสาน ถ้าเป็นมีดที่ใช้ในการตัดไม้จะเป็นมีดขนาดใหญ่มีสันหนา ๑/๒ – ๑ ซม. ยาวประมาณ ๔๐ ซม. หรือกว่านี้ก็ไม่มากนัก เรียกกันโดยทั่วไปว่า มีดโต้
        มีดจักตอก เป็นมีดที่ใช้สำหรับจักตอก มีรูปทรงเรียวแหลม ขนาดเหมาะมือ คมบาง ชาวบ้านนิยมพกเป็นมีดประจำตัวด้วย
        เหล็กมาด มีสองชนิด เหล็กมาดปลายแหลม และ เหล็กมาดปลายแบน เหล็กมาดปลายแหลม ใช้เจาะร้อยหวาย ส่วนปลายแบนใช้เจาะร้อยตอก
        คีมไม้ ใช้สำหรับคีบขอบกระจาด กระบุง หรือขอบอื่นๆ เพื่อให้แนบสนิมแล้วค้างไว้ด้วยหวายถักที่ด้ามคีม เพื่อประโยชน์ให้ผู้สานมัดหวายได้แน่น
        รูร้อยหวาย ทำด้วยเหล็กเจาะเป็นรูตามขนาดที่ต้องการ ตั้งแต่เล็กไปจนใหญ่ใช้สำหรับนำหวายร้อยเพื่อลบคมหวายและทำให้ทุกเส้นมีขนาดเท่ากัน



ลวดลายที่ใช้ในเครื่องจักสาน

ลายสองใช้สานกระชอน กระสอบ ฝาบ้านไม้ไผ่ ลายสองเป็นลายที่ประสมกับลายขัด ลายสามประดิษฐ์ แล้วประดิษฐ์เป็นลายที่มีชื่อว่า ลายลูกแก้ว ลายดีคว่ำ ลายดีหงาย ดาวล้อมเดือน ดาวกระจาย เป็นต้น
การสานเส้นที่ ๑ เริ่มจากตอก ๘ เส้นเป็นเส้นตั้ง ข้ามไป ๑ เส้น สานยกตอก ๒ เส้น ข้าม ๒ เส้น ยกตอก๒ เส้น ข้าม ๒ เส้น
สานเส้นที่ ๒ ข้าม ๒ เส้น ยก ๑๒ เส้นข้าม ๒ เส้น ยก ๒ เส้น ข้าม ๑ เส้น
สานเส้นที่ ๓ ยก ๑ เส้นข้าม ๒ เส้น ยก ๒ เส้น ข้าม ๒ เส้น ยก ๒ เส้น
สานเส้นที่ ๔ ยก ๒ เส้น ข้าม ๒ เส้น ยก ๒ เส้น ข้าม ๑ เส้น ยก ๑ เส้นสานเรื่อยไป โดยเพิ่มทั้งเส้นตั้งและเส้นนอน


ลายสาม เป็นลายที่ดัดแปลงเพิ่มเติมจากลายสอง นิยมสานกระสอบ เสื่อ กระบุง และฝาบ้าน การสานใช้ตอก ๙ เส้น เป็นเส้นตั้ง เส้นที่ ๑ ข้าม ๓ ยก ๓ ข้าม ๓

ลายขัด คือลายที่ยก ๑ ตอก ข่ม ๑ ตอกสลับกันเรื่อยไป ใช้สานกระสอบ ตะกร้า กระบุง ไซ ข้อง เป็นต้น

ลายขอ เป็นลายสำหรับสานกระด้ง โดยใช้ไผ่สีสุกสาน เพราะ เป็นไผ่ที่เหนียว ไม่เปราะ


คุณค่าและการใช้สอยในชีวิตประจำวัน

 
        ในสังคมกสิกรรมหรือ เกษตรกรรม เครื่องจักสานมีบทบาทที่สำคัญยิ่งเนื่องจากชาวบ้านจะใช้ภูมิปัญญาของตนเองประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ขึ้น ตามความต้องการใช้งานเขาจะใช้อย่างรู้และเข้าใจในสิ่งนั้นๆ และเห็น คุณค่าของเครื่องใช้ เครื่องจักสานจากภูมิปัญญาของตน

      ประโยชน์ของการใช้สอยสามารถโยงใยไปถึงคุณค่าแห่งจิตใจ ให้เกิดความรักและหวงแหนในคุณค่าของสิ่งที่ตนเองบรรจงสร้างขึ้น จากความรู้สึกนึกคิด จิตวิญญาณที่สร้างความงดงามในชิ้นงานแต่ละชิ้น ตั้งแต่การเหลา การเกลา จนนำมาสานรวมเป็นภาชนะของใช้ ซึ่งแน่นอนว่าเขาจะใช้อย่างคุ้มค่าและทะนุถนอม