วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว

          ในอดีตกะลามะพร้าวถูกนำมาทำเครื่องใช้หลายชนิดที่ยังพอมีให้เห็นเป็นของเก่าอยู่บ้างคือ จอกตักน้ำ หรือกะโหลกตักน้ำ หรือ ทะนาน ที่ใช้สำหรับตักข้าวสาร และยังมีอีกหลายชนิดที่แล้วแต่จะเรียกชื่อกัน นับเป็นภูมิปัญญาของคนสมัยก่อนที่มีวิถีชีวิตแบบ ไทย ๆ ใช้ของไทยที่ผลิตขึ้นเองจากวัสดุในท้องถิ่นสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เริ่มเลือนหายเมื่อความเจริญทางด้านเทค โนโลยีต่าง ๆ เข้ามาแทนที่จึงหันไปใช้พวกโลหะหรือพลาสติกแทน แต่ปัจจุบันยังมีคนบางกลุ่มที่เห็นประโยชน์ของกะลามะพร้าว และพยายามฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่นในการสร้างคุณค่าให้เกิดกับกะลามะพร้าว ซึ่งเป็นวัสดุเหลือใช้ในท้องถิ่น และเชิญชวนให้คนทั่วไปหันกลับมาเห็นคุณค่าของภูมิ ปัญญาเหล่านี้เพื่อตระหนักให้คนไทยเห็นคุณค่าของภูมิปัญญาของคนไทยและเห็นคุณค่าของกะลามะพร้าวมากขึ้น
          กะลามะพร้าวเป็นวัสดุเหลือใช้ ซึ่งมนุษเอาเนื้อออกไปรับประทานหมดแล้วก็เป็นเศษวัสดุที่ไม่ค่อยมีราคาค่างวดสักเท่าไหร่คนสมัยก่อนมัก นำไปใช้ทำเชื้อเพลิง หรืออย่างดีก็คิดเอาไปทำเครื่องใช้  ในครัวเรือน เช่นกระบวยตักน้ำ ทัพพี ถ้วย ชาม  ความสำคัญของกะลามะพร้าวในสมัยก่อนมีความสำคัญไม่มากนัก จึงมีการเปรียบเปรยคนที่ใช้ชีวิตอย่างไร้คุนค่าเหมือนกะโหลกกะลา ทางภาคใต้ผู้ที่ชอบเถลไถล ไม่ทำอะไรเลยจะถูกเรียกขานว่า  ไอ้พลก ไอ้ต้อ เป็นการบ่งบอกถึงความไร้ค่าเสมอด้วยกะลา
          ต่อมาภูมิปัญญาไทย หลายคน หลายแหล่ง ทั่วทุกภาคของประเทศไทย ได้คิดประดิษฐ์เพิ่มคุณค่า จากกะลามะพร้าวที่ไร้ค่ามาเป็นผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ที่นอกจากจะทำเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือนแล้วยังประดิษฐ์เป็นเครื่องตกแต่งบ้าน เช่น โคมไฟ ตะเกียงเจ้าพายุ เครื่องประดับ เครื่องแต่งกายสุภาพสตรี  เช่น กระเป๋าถือ เข็มขัด เข็มกลัด ปิ่นปักผม สร้อย  ฯลฯ ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้เป็นที่นิยมของชาวไทย และชาวต่างชาติ สามารถสร้างรายได้เพิ่มพูนให้แก่คนไทยที่ยากไร้ในชนบท


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น